บ้านหนองขาว


สภาพพื้นที่
ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอท่าม่วงระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าม่วง ประมาณ 10 กิโลเมตร ระยะห่างจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร ระยะห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 115 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ                ติดต่อ     ตำบลทุ่งสมอ        อำเภอพนมทวน
ทิศใต้                    ติดต่อ     ตำบลท่าล้อ           อำเภอท่าม่วง
ทิศตะวันออก        ติดต่อ     ตำบลทุ่งทอง        อำเภอท่าม่วง
ทิศตะวันตก           ติดต่อ     ตำบลปากแพรก   อำเภอเมืองกาญจนบุรี


ประวัติหมู่บ้านหนองขาวโดยย่อ

    เมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาญจนบุรีเป็นเมืองหน้าด่าน เส้นทางทัพของพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำบลหนองขาวประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านดงรัง มีวัดประจำ หมู่บ้านคือวัดใหญ่ดงรังหมู่บ้านดอนกระเดื่อง เป็นวัดโบสถ์เป็นวัดประจำหมู่บ้าน (ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของโรงเรียนหนองขาวโกวิทพิทยาคม)จากการทำศึกกับพม่าครั้งนั้น ชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านได้รวมตัวกันต่อสู้กับข้าศึกอย่างกล้าหาญ ยังมีครบเป็นหลักฐานอยู่ที่ (ทุ่งคู) จากการสู้รบครั้งนั้น หมู่บ้านทั้งสองถูกทำลายเสียหาย เหลือแต่ซากวัดและเจดีย์ปรากฏอยู่หลังสงครามยุติชาวบ้านได้พากันหลบหนีมารวมตัวกันที่บริเวณหนองน้ำใหญ่ ตั้งเป็น หมู่บ้านเรียกว่า บ้านหนองหญ้าดอกขาวซึ่งคือหมู่บ้านหนองขาวในปัจจุบันหมู่บ้านหนองขาวเป็นหมู่บ้านใหญ่ในสมัยตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รับการเอาใจใส่จากพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เช่น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมาเมืองกาญจน์และผ่านหนองขาวดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาธิภากรวงค์ กล่าวว่า รุ่งขึ้นวันศุกร์ แรม 14 ค่ำ เสด็จจากพลับ พลาเมืองกาญจน์ถึงพลับพลาบ้านหนองขาว ประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี และได้ทรงพระราชนิพนธ์ในกลอนไดอารี่ซึมซาบตอนหนึ่งว่า 
     
"ราษฎรพากันดาษดื่นเห็นแต่นั่งหน้าพลับพลากว่าห้าร้อย มีเขียนโต๊ะ ขันหมาก ขันพานบ้านนอก 
ข้าวหลามสี่ห้ากระบอก ขนมไหม้ จัดตามมีตามจนกันคนละเล็กละน้อยมานั่งคอยถวายล้อมอยู่พร้อมเพรียง ทรงปราศรัยไปทุกหน้าที่มานั้นก็ทูลกันสนองออกซ้องเสียง ฟังเหน่อหน่าตามประสาแปร่งสำเนียง 
บางขึ้นเสียงทานขัดคอกัน"
   หมู่บ้านหนองขาวได้ผ่านความเจริญขึ้นตามลำดับจวบจนปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ของที่นี่ยังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอยู่ในสังคมเกษตรกรรมสภาพบ้านเรือนไทยสมัยเก่า วีถีชีวิตและขนบธรรมเนียมแบบโบราณ ยังคงเป็นภาพชินตาให้เห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น